วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550

กุหลาบแสนสวย

ดนตรีเพื่อการบำบัด
ดนตรี มีคุณค่า และมีประโยชน์ต่อมนุษย์ในทุกด้าน เช่น พัฒนาสุขภาพจิต อารมณ์ สังคม และการพัฒนาทางร่างกาย มนุษย์ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้รับประโยชน์ และความสุขจาการรับรู้ความงามของดนตรี นำคุณค่าของดนตรีมาใช้พัฒนาคุณภาพของชีวิต
การศึกษาทางด้านดนตรีในประเทศไทย เห็นความสำคัญของดนตรีมากขึ้น มีการศึกษาการใช้ประโยชน์ของดนตรี เช่น พีระชัย ลี้สมบูรณ์ผล ศึกษาเรื่อง “ดนตรีของคนตาบอดในประเทศไทย : การเขียน และการประกอบอาชีพ” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาศิลป์ศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมการดนตรี มหาวิทยาลัยมหิดล (2537) พบว่า ดนตรีมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของคนตาบอด เป็นเพื่อนยามเหงา ช่วยลดความเครียด ความกังวล และเป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ
งานวิจัยของ บำเพ็ญจิต แสงชาติ วิจัยเป็นวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2528 เรื่อง “การนำดนตรีมาใช้เพื่อลดความเจ็บปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัด” โดยอาศัยแนวทางหลัก
1. ดนตรีมีผลต่อร่างกายและจิตใจของบุคคล ซึ่งอาจจะเป็นไปในทางลบหรือบวกก็ได้ตามชนิดของดนตรีที่บุคคล นั้น ได้ สัมผัส ตามนัยยะระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์
2. ดนตรี ทำให้บุคคลมีมนุษยสัมพันธ์ และเข้าสู่สังคมได้
3. ดนตรีสามารถช่วยให้มีการพัฒนาทางด้านชื่อเสียงเกียรติยศของปัจเจกบุคคล และบรรลุถึงความเชื่อมั่นและเข้าใจตนเอง
4. เสียงดนตรีที่มีท่วงทำนองและประกอบด้วยลีลาจังหวะการเคลื่อนไหว ทำให้เกิดพลังชีวิต และสามารถปฏิบัติตามได้
5. ดนตรีทำให้เกิดสมาธิ มีความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ มีความละเอียดทางด้านอารมณ์และแนวความคิด
6. ดนตรีทำให้คลายความเครียด และลดความกังวลได้
ปัจจุบันมีการนำดนตรีมาใช้บำบัดโรคต่าง ๆ ได้อย่างมีผลดียิ่งทั้งโรคทางกาย และจิตเวช กรีกเป็นชาติแรกที่ใช้พิณดีดรักษาโรคซึมเศร้า ดนตรีบำบัดสามารถใช้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้ดี มีประโยชน์ และมีคุณค่าสูงแต่ต้นทุนต่ำ ใช้ได้ทั้งลดอาการเจ็บปวดจาการคลอดจาการถอนฟัน รักษาคนที่มีความเครียด กังวล ผู้ป่วยทางกาย ทางจิต คนพิการ ผู้มีปัญหาทางอารมณ์ นอกจากนี้ยังใช้กับการพัฒนาการรับรู้ของเด็กทารก เยาวชนใช้พัฒนาการทำงานและสร้างเสริมมนุษยสัมพันธ์ของตนได้
การนำดนตรีบำบัดไปใช้เป็นสื่อในการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวช ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นนักดนตรีบำบัด (Music Therapist) จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับดนตรี และความผิดปกติทางด้านจิตใจ หรือโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับจิตใจเป็นอย่างดี นักดนตรีบำบัดจะต้องทำงานร่วมกับแพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ และบุคลากรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยนักดนตรีบำบัดควรวิเคราะห์ และวินิจฉัยได้ว่า ผู้ป่วยรายใดควรจะใช้ดนตรีบำบัดในรูปแบบใด ควรใช้องค์ประกอบใดของดนตรีในการบำบัดรักษา (พีระชัย ลี้สมบูรณ์ผล 2541 : 5)
นอกจากนี้ ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์ (25437 : 18 – 19) ได้กล่าวถึงดนตรีเพื่อการบำบัดไว้ดังนี้ นักจิตวิทยา เพื่อว่าดนตรีช่วยพัฒนาการของมนุษย์ได้ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา และสามารถใช้ดนตรีแก้ไข ปรับปรุง ข้อบกพร่องบาวอย่างทั้งทางกาย และทางอารมณ์ได้ด้วย เช่น การพูดติดอ่าง นิสัยก้าวร้าว ตลอดจนอาการของเด็กประเภท Autistic Child
ผลจากความรู้และการทดลองด้านนี้ ทำให้ดนตรีก้าวเข้าไปมีบทบาททางการแพทย์และจิตเวช โดยใช้ช่วยบำบัดอาการป่วยไข้ทางจิต เสริมการบำบัดรักษาตามวิธีการทางการแพทย์บทบาทนี้ทำให้เกิดวิชา ดนตรีบำบัด (Music Therapy) ซึ่งหลายมหาวิทยาลัยในต่างประเทศเปิดสอนเป็นวิชาเอก สำหรับนักดนตรี และนักศึกษา
ความจริงเรื่องการใช้ดนตรีบำบัดอาการป่วยไข้ มีมานานแล้ว ในพระคัมภีร์ไบเบิลระบุว่า “ดาวิด” เคยดีดพิณบำบัดอาการหงุดหงิดของกษัตริย์ซาอูล

วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ประวัตส่วนตัว


ดิฉันชื่อ ดวงนภา แซ่เฮง อายุ 30 ปี
บ้านเลขที่ 33/1 ต. โพหัก อ.บางแพ จ. ราชบุรี 70160
สถานภาพ คู่
มีบุตรสาว 1 คน
คู่ชีวิตชื่อ จ.ส.ต.อดุล มั่นการ
ทำงานอยู่ที่ ส.ภ.อ.วัดเพลง
ประสบการณ์
ได้มีโอกาสเข้าอบรมธรรมะที่วัดเขาวัง รู้สึกชอบ ได้เรียนรู้อะไรหลาย อย่างเกียวกับการดำเนินชีวิตถ้ามีโอกาสอยากให้ครอบคร้วได้เข้าอบรมธรรมะด้วยเพื่อเป็นการสะสมบุญให้กับตัวเอง

สุนทรียศาสตร์คืออะไร ?ก่อนเข้าสู่ Aesthetic หรือ สุนทรียศาสตร์คือ วิชาที่ว่าด้วยเรื่องความงามจากสิ่งรอบๆตัวไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีตามธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดค้นหรือสร้างทฤษฎีขึ้นมาเพื่อถ่ายทอดความงามให้รับรู้ในรูปแบบต่างๆเช่นการวาดภาพ ดนตรี ศิลปกรรมต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีความงามหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับความรู้สึกนึกคิดของแต่ละบุคคลว่างามหรือไม่โดยอาศัยประสบการณ์ที่มีมาและการถ่ายทอดปลูกฝังตั้งแต่เด็กเป็นประสบการณ์

สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อมนุษย์อย่างไร ?สุนทรียศาสตร์ ตามความเห็นคิดเห็นคือ สามารถช่วยในเรื่องของกระบวนการคิด การตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผล ทำให้ผู้นั้นมีจิตใจอ่อนโยน และมองโลกในแง่ดี ไม่แข็งจนเกินไป นอกจากนั้น การเข้าใจในสุนทรีย์ศาสตร์ยังช่วยส่งเสริมให้มนุษย์ได้มีแนวทางในการแสวงหาความสุขจากความงามต่างๆกันไป และทำให้เห็นความสำคัญของสิ่งต่างๆบนโลกใบนี้ ตลอดจนรู้จักนำสุนทรียศาสตร์ไปใช้ในชีวิตด้วยเหตุผล และความรู้สึกต่างๆได้อย่างเหมาะ

สมสุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อวิชาชีพอย่างไร ? เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ผู้ที่อยู่ในวิชาชีพพยาบาลทุกคนจะได้รับการสอนเสมอว่า วิชาชีพพยาบาลเป็นอาชีพที่ต้องปฏิบัติงานกับบุคคลซึ่งอยู่ในภาวะเจ็บป่วยโดยต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการให้การพยาบาล นั่นหมายถึง ผู้ป่วยเป็นบุคคลซึ่งมีจิตใจ มีความรู้สึก กลัวการเจ็บป่วย กลัวการตาย การให้การพยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อวิชาชีพก่อน จากนั้นต้องมีความตั้งใจในการให้การพยาบาล เข้าใจความรู้สึก และเห็นใจผู้ป่วย ในการให้การพยาบาลควรปฏิบัติด้วยความนุ่มนวลพร้อมกับให้การพยาบาลอย่างมีคุณภาพ มีเหตุและผล ร่วมกับใช้ความรู้และศาสตร์ ซึ่งหมายถึงวิชาต่างๆที่ได้เรียนมานำมาใช้ให้สอดคล้องกับการพยาบาลต่อผู่ป่วยในแต่ละคน....ซึ่งผู้ป่วยแต่ละคน พยาบาลทุกท่านต้องทำความเข้าใจและให้การพยาบาลแตกต่างกันออกไป การปฏิบัติงาน และการให้การพยาบาลต่อผู้ป่วยเหล่านั้น สุดท้ายจะส่งผลกลับมาด้วยความภาคภูมิใจ และทำให้เกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และวิชาชีพมากขึ้นทุกวัน ทุกวัน...ฉะนั้นจึงเห็นได้ว่า การให้การพยาบาลและการปฏิบัติงานในวิชาชีพพยาบาลนั้น สอดคล้องกับคำกล่าวของท่านอาจารย์ที่ว่า...การเรียนสุนทรียศาสตร์ ช่วยทำให้มนุษย์เกิดความสมดุลย์ของกาย คือมีเหตุมีผล ของจิตคือ มีความรู้สึก นอกจากนั้น การเรียนสุนทรียศาสตร์ยังช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้เป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยน มองโลกในแง่ดีอย่างมีเหตุมีผล และส่งเสริมให้เห็นความสำคัญของสรรพสิ่งต่างๆในโลก จึงสอดคล้องกับงานวิชาชีพพยาบาล ในการดูแลให้การพยาบาลต่อผู้ป่วย และเพื่อนมนุษย์ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น.